วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ลักษณะของคำไทยแท้

๑.คำไทยมักเป็นคำพยางค์เดียว
ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด (Isolating Language) หรือคำพยางค์เดียวโดดๆ (Monosyllabic Language) ลักษณะของคำโดดนั้น ส่วนมากมักเป็นคำพยางค์เดียวโดยพิจารณาจากคำดังเดืม หรือคำพื้นฐานของภาษาอันได้แก่ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้กันเป็นประจำมักเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ อันได้แก่ คำนาม และคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือคำขยายที่ใช้ธรรมดาสามัญทั่วๆไป
๒.ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ
ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเหมือนเสียงดนตรี วรรณยุกต์จึงมีประโยชน์แล้วจำเป็นในภาษาไทยมาก เพราะคำเดียวกัน ถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ผิดไป ระดับเสียงก็ผิดไป ความหมายก็ผิดไปด้วย
๓.คำไทยแท้มักใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
เช่น คำว่า กาบ กบ กด แต่คำที่มากจากภาษาอื่นมักใช้ตัวสะกดอื่นได้ต่างๆกันเช่น กาญจน์ การณ์ การ การย์ กานท์ กาล กาฬ เป็นต้น หรือบางทีก็จะเป็นตัวควบกล้ำกัน ซึ่งไม่ใช้ลักษณะของคำไทย ดังจะจำแนกสะกดแม่ต่างๆดังนี้
๓.๑ แม่ กก คำไทยแท้ ก สะกด เช่น นก จาก มาก ปาก แต่บางครั้งการที่มี ก เป็นตัวสะกดก็อาจมิใช่คำไทยแท้ เช่น โลก (บาลี) โคก (เขมร)
แม่ กก ที่ใช้ตัว ก สะกด และมีตัว ร ควบกล้ำ มากจากภาษาสันสกฤต เช่น จักร
แม่ กก ที่ใช้ตัว ก สะกด และมีตัว ข การันต์ มาจากภาษาบาลี เช่น ทุกข์
ตัวสะกดในแม่ กก ถ้าสะกดด้วยพยัณชนะตัวอื่น แสดงว่ามาจากภาษาอื่น เช่น
ข สะกด ได้แก่ สุข มุข เมขลา สุนัข
ค สะกด ได้แก่ ราค มาร วิหค
ค สะกด มีร ควบกล้ำ มาจากภาษาสันสกฤษ เช่น อัคร
ฆ สะกดได้แก่ เมฆ มัฆวาน
๓.๒  แม่กด คำไทยแท้ใช้ ด สะกด เช่น รด ลด มด จด สด
ตัวสะกดในแม่กดถ้ากดด้วยพยํญชนะตัวอื่น แสดงว่ามาจากภาษาอื่น เช่น
จ สะกด ได้แก่ กาจ อาจ อำนาจ เวจ อนิจจา อัจฉรา
ช สะกด ได้แก่ ราช คช อนุช มัชฌิม อาชญา
ซ สะกด ได้แก่ ก๊าซ
ฎ สะกด ได้แก่ กฎ มงกุฎ
ฏ สะกด ได้แก่  ปรากฏ กูฏ
ฐ สะกด ได้แก่ รัฐ อิฐ ประเสริฐ
ฑ สะกด ได้แก่ ครุฑ
ฒ สะกด ได้แก่ อัฒจันทร์ วัฒนธรรม
ต สะกด ได้แก่ รัตน์ หัตถ์ สัตย์
ถ สะกด ได้แก่ รถ อรรถ ปารถนา สามารถ
ท สะกด ได้แก่ บท บาท นาท สัทธา
ธ สะกด ได้แก่ อรรธ วรรธนะ
ศ สะกด ได้แก่ อากาศ มาศ อัศว์ ลีลาศ
ษ สะกด ได้แก่ พิษณุ กฤษณา พิษ
ส สะกด ได้แก่ โอกาส วาสนา ศาสนา
๓.๓ แม่ กบ คำไทยแท้ใช้ บ สะกด เช่น กบ จบ สบ พบ บางครั้งมีตัว บ เป็นตัวสะกดก็อาจมิใช่คำไทยแท้ เช่น สาบ สดับ(เขมร) ตัวสะกดในแม่ กบ ถ้าสะกดด้วยพยัญชนะตัวอื่นแสดงว่ามากจาภาษาอื่น เช่น
ป สะกด สัปดาห์ กัป
พ สะกด ได้แก่ ลัพธ์ ราพณ์
ฟ สะกด ได้แก่ กราฟ ออฟฟิศ ยีราฟ
ภ สะกด ได้แก่ ลาภ ปรารภ
๓.๔แม่ กง คำไทยแท้ใช้ ง สะกด เช่น กง คง จง วง ลง บางครั้ง ง เป็นตัวสะกดก็อาจมิใช่คำไทยแท้ เช่น โพงพาง (จีน) วังเวง (เขมร) ถ้ามีตัวสะกดการันต์เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น องค์ องก์ สงฆ์ ชงฆ์ อานิสงส์ เป็นภาษาบาลี เป็นต้น
๓.๕ แม่ กน คำไทยแท้ใช้ น สะกด เช่น คน จน สน ต้น สัน ก้าน บางครั้งมี น สะกด ก็อาจมิใช่คำไทยแท้เช่น ตงฉิน (จีน) หุ้น(จีน) ถ้าสะด้วยพยัญชนะตัวอื่นแสดงว่ามาจากภาษาอื่น เช่น
ญ สะกด ได้แก่ กาญจน์ กัญชา เจริญ
ณ สะกด ได้แก่ รณรงค์ สัณฑ์ กัณฑ์
ร สะกด ได้แก่ พร จร อาจารย์ การ การน์ การณ์
ล สะกด ได้แก่ กาล บาล มลทิน ทูล
ฬ สะกด ได้แก่ กาฬ วาฬ
คำที่สะกดด้วย น และไม่มีตัวการันต์ที่ไม่ใช่คำไทยแท้ก็มี ได้แก่ ทิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า วัน (อ่านว่า ทิ – นะ) เมื่อไทยรับมาใช้อ่านว่าทิน ตัว น จึงกลายเป็นตัวสะกดในคำไทยไปหรือคำว่า วัน ที่มาจาก วน (อ่านว่า วะ-นะ) แปลว่า ป่า เรานำมาใช้โดนให้ น เป็นตัวสะกดจึงเป็นวัน เป็นต้น
๓.๖ แม่ กม คำไทยใช้ ม สะกด เช่น คม สม ผม ชม จาม สาม บางครั้งทีตัว ม สะกดก็อาจมิใช้คำไทยแท้ เช่น โดม (เขมร) บังคม พนม (เขมร) ถ้ามีตัวการันต์เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น ปรารมภ์ สดมภ์ เป็นภาษาสันสกฤต เป็นต้น
๓.๗ แม่ เกย คำไทยแท้ใช้ ย สะกด เช่น ชาย คาย จ่าย เลย เป็นต้น ที่มมาจากภาษาอื่นก็มี เช่น ภาษาเขมร ได้แก่ เกย เขนย นาย เป็นต้น
ภาษาบาลีสันกฤต ได้แก่ กาย(ภาษาบาลีสันสกฤต อ่านว่า กา-ยะ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยใช้ ย เป็นตัวสะกด อ่านว่า กาย)
๓.๘ แม่ เกอว คำไทยแท้ ใช้ ว สะกด เช่น ชาว กาว ราว หวิว เป็นต้น ถ้ามีตัวการันต์จะไม่ใช่คำไทย เช่น เชาวน์ เยาว์
๔.คำไทยแท้ที่ไม่มีตัวการันต์
คำไทยแท้จะสะกดตรงตามตัวไม่มีการันย์ เช่น
ลิน นั้น กัน วาน เป็นต้น ดังนั้นคำที่มีการันต์จึงเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น
๔.๑คำที่มาจากภาษาบาลี ได้แก่ องค์ สงฆ์ ทุกข์
๔.๒ คำที่มาจากภาษาสันสกฤต ได้แก่ ศิลป์ จันทร์ อินทร์
๔.๓ คำที่มาจากภาษาอังกฤษได้แก่ ฟิล์ม ชอล์ก สไตล์
๕.คำไทยแท้มักจะไม่ใช้รูปพยัญชนะ ฆ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ธ ฒ ณ ศ ษ
ยกเว้นคำ รัง ฆ่า เฆี่ยน เฒ่า ณ ธ เศิก ศอก หญ้า หญิง เป็นต้นที่เป็นคำไทยแท้
๖.คำไทยแท้มักเป็นคำเดียวซึ่งมีความหมายในตัวเอง
คำไทยทำหน้าที่หลายอย่างหมายความว่า คำคำเดียวมีหลายความหมายใช้ได้หลายหน้าทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปคำเหมือ ยภาษาในตระกูลภาษามีวิภัตติปัจจัย เราจะรู้ความหมายและหน้าที่ได้ก็ด้วยดูตำแหน่งในประโยค เช่น คำว่า ฟัน เป็นกริยาก็ได้ เป็นคำนามก็ได้ เช่น
เขาฟันต้นไม้ “ฟัน” ในประโยคนี้เป็นคำกริยา
ฟันของฉันหัก “ฟัน” ในประโยคนี้เป็นคำนาม
คำว่า ขัน ก็ เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่โดดๆ ลอยๆ อยู่คำเดียว เราไม่สามารถบอกหน้าที่ของคำนี้ได้ เพราะขัน เป็นได้ทั้งคำนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ เรารู้หน้าที่และความหมายของคำนี้ได้ ก็โดยการเข้าประโยค
“ขัน” ที่เป็นคำนาม เช่น ขัน / ลอยอยู่ในตุ่ม
“ขัน” ที่เป็นคำกริยา เช่น ไก่ / ขัน / แต่เช้าตรู่
“ขัน” ที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น เขามักจะพูดอะไร / ขัน ๆ / เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น